จะปั๊มนม ทำสต๊อคน้ำนมอย่างไร?

จะปั๊มนม ทำสต็อกอย่างไร?  

“คำแนะนำในการทำสต๊อกนม สำหรับไลฟ์สไตล์คุณแม่ 3 ประเภท” จากคุณบี เพจนมแม่แฮปปี้  

เวลาเราได้ยินว่า จะต้องปั๊มนมทุก 3 ชม. แล้วมันชนกับมื้อนมของลูก รู้สึกเครียดและสับสนไหมคะ?

บางคนเป็นแม่ฟูลไทม์ ลูกกินจากเต้าอิ่มแล้ว ยังต้องทำสต็อกอีกไหม อย่างไร? จะปั๊มตอนไหนดี?

ถ้าไม่ปั๊ม ดูดเต้าอย่างเดียว น้ำนมจะลดไหม? ถ้าปั๊มอย่างเดียว น้ำนมจะลดไหม?  

หลักการเดียวกันทุกคนนะคะ

ให้เอาน้ำนมออกจากเต้าให้บ่อย แล้วน้ำนมจะผลิตเพิ่มตามนั้น ลูกดูดเต้าได้อิ่ม 8 มื้อ

แม่จะผลิตน้ำนม ตลอดทั้ง 8 มื้อ การปั๊มออกมาดู ไม่สามารถชี้วัดได้ว่าในเต้ามีน้ำนมแค่นั้น

หากลูกดูด 5 มื้อ + เสริมนมชง 3 มื้อ ร่างกายจะผลิต 5 มื้อค่ะ  

ถ้าลูกไม่ดูด แม่ปั๊มใส่ขวดได้ 8 มื้อ ร่างกายจะผลิตน้ำนม ตามปริมาณนั้นเลยค่ะ

แต่เนื่องจาก คุณแม่แต่ละกลุ่ม มีบริบทที่ต่างกัน ก็จะมีวิธีกระตุ้นน้ำนมที่ไม่เหมือนกันนะคะ  

 

กลุ่มแรก

แม่ฟูลไทม์ ลูกดูดเต้าได้ดี คางขยับเยอะ อิ่มที่เต้าได้ น้ำหนักก็ขึ้นดีก็คือ ร่างกายผลิตน้ำนม 100% ที่ลูกต้องการ ถ้าปั๊มนมต่ออีกหน่อย บีบมือต่ออีกหน่อย กลายเป็นเอาน้ำนมออกเพิ่มอีก 20%(ขโมยปั๊ม) ร่างกายของเราจะผลิต 120% ค่ะ  ถ้าลูกดูดเต้าตลอด ไม่ปั๊มนมก็ได้นะคะ น้ำนมจะไม่หมดค่ะ กินเท่าไหร่ ก็ผลิตตามนั้น

สนับสนุนให้ทำสต็อกให้อุ่นใจ ก็ดีนะคะ แต่ไม่ต้องโหมปั๊มก็ได้ เอาเท่าที่ไหวและมีสต็อกในวันที่ฉุกเฉินค่ะ        

 

ถ้าแม่ต้องไปทำงาน

วิธีทำสต็อกคือ ปั๊มส่วนเกินออกมาแล้วเก็บสะสมก่อนนะคะ 

ตอนแม่ไปทำงาน ห่างลูก ให้ปั๊มนมออกทุก 3-4 ชม. ให้เต้ายวบ

ทำจี๊ด บีบมือ น้ำนมจะไหลดี กลับบ้านก็ให้ลูกดูดเต้า พยายามบีบให้ลานนมนิ่ม นมจะออกดี

ลูกจะไม่หงุดหงิด ถ้าลานนมแข็ง มีท่อดิ้นๆ เหมือนเอ็น เหมือนกระดูกอ่อน น้ำนมจะออกยาก

น้องอาจจะไม่ชอบเพราะนมออกยาก ปั๊มไม่ออกไม่ใช่น้ำนมหายค่ะ      


กลุ่มที่สอง

ลูกดูดไม่เก่ง ดูดนาน แต่เบา คุณแม่กลุ่มนี้ มีงานให้ทำมากกว่าใคร เพราะต้องเข้าเต้าด้วย ต้องเตรียมสต็อกใส่ขวดด้วยและต้องปั๊มอีกด้วย พยายามปั๊มให้เกลี้ยง ด้วยการทำจี๊ด ปั้นนวดคลึงให้ลานนมนิ่ม น้ำนมพุ่งให้แรง กระตุ้นให้ร่างกายระบายน้ำนม มิฉะนั้นน้ำนมจะลดลงได้ค่ะ    ถ้าลูกอายุยังน้อย หาทางแก้ติดจุก ให้หัดเข้าเต้าใหม่ ปรับการอุ้ม ปรับการดูด นวดกดช่วยให้น้ำนมระบาย ช่วยให้ลูกดูดนมได้มากขึ้นนะคะ 

ถ้าลูกดูดแบบจุ๊บจิ๊บ ไม่ค่อยอิ่ม น้ำหนักไม่ขึ้น แม่ควรทำจี๊ด + บีบมือบ่อยๆ เพื่อดันให้เศษไขมันในน้ำนมหลุดออกมาให้มากขึ้น ป้องกันรูน้ำนมตัน. (น้ำนมจะใส สายจะบางๆ คือ มันตีบตันมาก บางคนหงุดหงิดไม่เอาเต้าเพราะเหตุนี้)  

พอเริ่มอายุเดือนมากขึ้น เด็กที่ดูดเบาๆ แม้ว่า คุณแม่พยายามหมั่นปั๊มนมวันทำงานจนเต้ายวบ ก็แล้ว  แต่เข้าเต้าตอนกลางคืนและเสาร์อาทิตย์ ปรากฏว่าเต้าไม่เคยนิ่มลงเท่าไหร่ เพราะลูกชอบเต้าแม่

แต่ดูดไม่แรง ทำให้ได้น้ำนมน้อย เป็นต้นเหตุที่ทำให้เด็กนมแม่กลุ่มนี้น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นค่ะ  

คุณแม่กลุ่มนี้ต้องพยายามเลี่ยงของมันของทอด นมเนย ที่จะไปทำให้ลูกดูดเต้ายากขึ้นนะคะ

เข้าเต้าเยอะๆ นวดกดเยอะๆ แต่ถ้าน้องฉี่น้อย น้ำหนักขึ้นน้อย น้องแลดูไม่อิ่มจริงๆ

ก็จำเป็นต้องเสริมนมเพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักให้โตตามเกณฑ์ค่ะ        

กลุ่มที่สาม

ลูกไม่ดูด ไม่เอาเต้าเลย หรือ เป็นแม่ทางไกล ต้องห่างลูก แต่ก็สู้ยิบตา ดึกดื่นแค่ไหนก็ตื่นมาปั๊มเพราะตัวช่วยของเค้า คือเครื่องปั๊มนมนะคะ จะว่าเค้าสุดโต่งไม่หรอก เพราะนี่คือสิ่งที่แม่คนหนึ่งต้องการทำเพื่อลูกของเค้าค่ะ  

หากลูกไม่ดูดเต้าจริงๆ เริ่มต้น แม่ต้องปั๊มทุก 2 ชม.ในเดือนแรกเพื่อกระตุ้นและหมั่นระบายน้ำนม หลังจากนั้นเมื่อปั๊มได้ดีขึ้น

จะปั๊มได้มากขึ้นและเว้นช่วงได้นานขึ้นค่ะ   กลุ่มแม่มือปั๊มเป็นนักสู้ค่ะ บีชื่นชมมาก จะปั๊มทุก 3-4 ชม. กลางคืนก็ตื่นมาปั๊ม

ทำทุกอย่าง เพื่อลูกจริงๆ นะคะ ไม่อยากทรมานเต้า ของมันของทอด นมวัว นมถั่ว จะไม่แตะ เพราะไม่อยากท่อตันค่ะ          

คำแนะนำของแม่แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกันนะคะ แม่กลุ่มแรก ลูกเข้าเต้าอิ่มแล้ว แล้วยังต้องปั๊มทุก 3 ชม. น้ำนมจะผลิตมากเกินไปค่ะ ส่งผลให้น้ำนมพุ่งเกินไป ต้องบริหารจัดการสต็อกมากมายทั้งที่ไม่จำเป็น  (คือ แค่มีให้อุ่นใจค่ะ ไม่ต้องเยอะๆ แบบเลี้ยงลูกแฝดก็ได้นะคะ)   แม่กลุ่มที่สอง เข้าเต้าอย่างเดียว

ทั้งที่ลูกดูดไม่เก่ง ตอดเบา ไม่อิ่ม วางไม่ได้ บวกกับแม่นมตัน ดูดยาก ลูกจะน้ำหนักไม่ขึ้น และจะปั๊มนมไม่ค่อยออกด้วย

เพราะน้ำนมไม่ถูกกระบายออกสักเท่าไหร่  แม่จะถูกกดดันเรื่องน้ำหนักลูกเป็นอย่างมาก แต่แม่ก็สู้เหมือนกันค่ะ

ด้วยการขยันปั๊ม ใส่ขวดให้ลูก ถึงจะได้สต็อกไม่มาก วันชนวัน แต่ก็ไม่ล้มเลิก กลุ่มนี้ยังมีอะไรให้อุ่นใจ เพราะได้ลูกมาเข้าเต้า มีนมไว้ปลอบใจลูกได้ ให้อุ่นใจทั้งลูกและแม่ในวันที่ทั้งคู่ต้องการนะคะ ❤    

  แม่กลุ่มที่สาม เหมือนจะง่ายสุด คือรักษาวินัยการปั๊มให้ได้ทุก 3 ชม.แต่ไม่ง่ายนะคะเพราะ 1) เหนื่อย

ต้องรักษารอบปั๊มมาก 2) นมตันง่ายเพราะไม่มีลูกช่วยดูด 3) ทานของที่ตนชอบไม่ค่อยได้ อร่อยปาก ลำบากนมทันที  

เต้านมอักเสบนี่เหมือนเป็นสิวอักเสบ แต่เป็นเม็ดยักษ์ที่ทรวงอก ปวดตุ้บๆ เป็นไข้ หนาวสั่นได้เลยนะคะ ใครที่เคยเป็น จะรู้ว่า ปวดกว่าคลอดลูกซะอีก       เขียนเยอะๆ ยาวๆ ก็หวังว่า แม่ๆ จะเข้าใจมากขึ้นนะคะ 

ที่สำคัญ ให้แก้ปัญหาให้เร็วที่สุด อย่ารอเป็นเดือนค่ะ ใครอยากให้ลูกกลับมาดูดเต้า ควรรีบแก้ไขตั้งแต่เดือนแรก. เพราะเข้าเดือนที่ 3-4-5 จะยากขึ้นมากนะคะ   เลือกแบบที่เหมาะกับเราค่ะ แก้ให้ตรงจุด แล้วทุกอย่างจะง่ายขึ้นจริงๆค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่ ทุกคนค่ะเขียนยาวๆ ทวนแล้วทวนอีก หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับคุณแม่ทุกคนนะคะ    

รูปนี้ รูปน้ำนมของแม่ปอย ปกติปั๊มได้ 2-3 ออนซ์ ลูกดูดไม่อิ่ม แต่ให้บีบลานนมให้น้ำนมพุ่งๆ ก่อนเข้าเต้าจนอิ่มค่ะ เสร็จแล้ว

บีบมือออกได้ขนาดนี้ คือดีงามมากมายแล้วค่ะ สู้ๆ นะคะ   คุณแม่ที่ต้องการแก้ปัญหา ต้องการ support เข้าคลาสหรือเรียนที่บ้าน

สามารถทักมาทาง inbox หรือ line: nommaehappy ได้ค่ะ

#นมแม่แฮปปี้

  ———————

คุณแม่ที่มีปัญหาปั๊มนมได้น้อย ปั๊มแล้วเจ็บ เครื่องไม่เหมาะสม

ร้านนมแม่มีบริการส่งเครื่องให้ลองที่บ้าน พร้อมคำแนะนำจากโค้ชมืออาชีพ 

 ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง   ไม่ต้องเสียเงินเยอะเพื่อซื้อมาลอง  

ลองได้นาน 7 วัน เพื่อความชัวร์  ได้เข้าไลน์กรุ๊ปแชร์เทคนิคและเคล็ดลับปั๊มนม

สนใจทัก inbox  m.me/nommaeshop หรือโทร 021848165